ReadyPlanet.com


TOPIC ACADEMY ตอบปัญหาข้อกังวล (สอบตรง มธ. และจุฬาฯ) ในการรับตรงร่วมของ ทปอ. ปี 59


            เนื่องด้วยการที่ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ประชุมหารือกันในหลากหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดว่าในปีการศึกษา 2559 (น้อง ม.6 รุ่นปี 2558) นั้นจะมีระบบสอบตรงอย่างไร จะเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ สรุปแล้วจะจัดสอบรวมกันครั้งเดียทั่วประเทศหรือไม่ (เหมือนกลับไปใช้ระบบ Entrance เลย) แต่สิ่งหนึ่งบรรดาสมาชิก 27 มหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำของประเทศ ได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างแน่ชัด คือ การจัดสอบวิชาสามัญเพิ่มขึ้นจากเดิม 7 วิชา เป็นสอบทั้งหมด 9 รายวิชา คือ วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ (สายศิลป์) และวิทยาศาสตร์ สายศิลป์) ทั้งนี้เพราะเห็นว่าการใช้ข้อสอบในระบบสอบตรงรวมกันเดิม (7 วิชาสามัญ) นั้นจะเน้นไปในคณะทางด้านสายวิทยาศาสตร์เป็นส่วนมาก จึงเพิ่มวิชาในสายศิลป์ขึ้นมาในครั้งนี้

            แต่ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม ทางที่ประชุมฯ ก็ยังไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัด อีกทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเรื่องระบบการรับตรงในปี 2559 ที่ใกล้จะถึงนี้ ทำให้นักเรียนรวมทั้งผู้ปกครองต่างๆ เกิดข้อกังวลว่าจะเตรียมตัวอย่างไร เพราะหากใช้ระบบรับตรงร่วมกันเพียงอย่างเดียว นั่นหมายความว่ามีสิทธิ์ชี้วัดตัวเองเพียงครั้งเดียว (โหดยิ่งกว่า Entrance) เพราะหากพลาด ก็ต้องไปไป Admission (โหดกว่าตรงที่ หลายมหาวิทยาลัยจัดจำนวนที่นั่งกว่า 70 - 85% ไว้ที่ระบบสอบตรง ตามสถิติในปีที่ผ่านๆ มา) แต่ทว่าในแหล่งข่าวจากที่ประชุม ปทอ. หลายท่านก็ยังเสียงแตก และยังมีการพูดถึง "การจัดสอบเองโดยตรง" จากทางมหาวิทยาลัยนั้นๆ อยู่ เช่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ประกาศจัดสอบในระบบโควตา "เอง" เช่นเดิมเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา ดังนั้นทาง TOPIC ACADEMY จึงทดลองรูปแบบต่างๆ ที่พอเป็นไปได้ในระบบรับตรงปี 59 มาให้ดูดังด้านล่างนี้

  1. ระบบสอบตรงโดยใช้ 9 วิชาสามัญอย่างเดียว
  2. ระบบสอบตรงโดยใช่ 9 วิชาสามัญ + GAT/PAT
  3. ระบบสอบตรงโดยใช้ GAT/PAT
  4. ระบบสอบตรงโดยใช้ 9 วิชาสามัญ + มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
  5. ระบบสอบตรงโดยใช้ 9 วิชาสามัญ + GAT/PAT + มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
  6. ระบบสอบตรงโดยใช้ GAT/PAT + มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
  7. ระบบสอบตรงโดยใช้เฉพาะวิชาที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเองเพียงอย่างเดียว
  8. ระบบสอบตรงโดยใช้วิชาต่างๆ จากส่วนกลาง แต่หากผ่านสอบสัมภาษณ์ จะมีการสอบในรายวิชาเฉพาะทางซึ่งมหาวิทยาลัยจัดการสอบเองอีกครั้ง (เช่น มศว ที่ประกาศออกมาแล้วว่าจะใช้ระบบนี้นำร่อง)       

           ซึ่งความไม่ชัดเจนนี้ ทำให้น้องๆ หลายคนเกิดความสับสนและไม่แน่ใจ ดังนั้นทางสถาบันจึงขอสรุปข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการสอบตรงของธรรมศาสตร์และจุฬาฯ ดังนี้


1. ต่อข้อกรณีการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    = มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับตรงมาอย่างยาวนานเกือบ 20 ปี ดังนั้นทั้งข้อสอบและระบบการสอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสายสังคมศาสตร์ (เช่น คณะรัฐศาสตร์, นิติศาสตร์, สัคมสงเคราะห์ศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, เศรษฐศาสตร์) ซึ่งถือเป็นคณะหัวใจสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงออกแบบมาได้อย่างเหมาะสม นั่นคือมหาวิทยาลัยสามารถที่จะวัดระดับผู้ที่จะสามารถเข้าเรียนในคณะหรือสาขาวิชานั้นๆ รวมไปจนถึงได้นักเรียนที่อยากจะเข้าศึกษาในคณะหรือสาขานั้นๆ ได้อย่างแท้จริง และด้วยการนำระบบสอบตรงมาใช้ยาวนานเกือบ 20 ปี สะท้อนให้เห็นว่าระบบการรับตรงของธรรมศาสตร์นั้น "ได้ผล" ดังนั้นธรรมศาสตร์จึงอาจจะปรับปรุงระบบการสอบตรงของตนเอง โดยอาจใช้คะแนนสอบทั้ง 9 วิชาสามัญ คะแนน GAT/PAT และการจัดสอบโดยมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งจะจำแนกแตกต่างกันออกไปในคณะและสาขาวิชาต่างๆ (โดยในปีที่ผ่านๆ มา ช่วง 2555 - 2557 ที่มีกระแสการรับตรงร่วมกัน ธรรมศาสตร์ก็หันมาใช้ระบบผสมนี้ และคณะเก่าแก่เช่นคณะรัฐศาสตร์, นิติศาสตร์, สังคมสงเคราะห์ศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จะยังใช้ข้อสอบที่ออกแบบและจัดสอบเองของมหาวิทยาลัยเช่นเดิม ส่วนคณะอื่นๆ ทางสายวิทยาศาสตร์นั้นก็หันมาใช้คะแนนจากส่วนกลางมากขึ้น หรือคณะนิติศาสตร์เอง ก็เอาคะแนน GAT มาเป็นสัดส่วนในการพิจารณาเพิ่มขึ้น เป็นต้น) โดยในช่วงที่มีกระแสการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ราวปี 2554 นั้น ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรณ์ (ซึ่งปัจจุบัน ปี 2558 ก็ยังเป็นท่านเดิม) เคยได้กล่าวไว้อย่างดุเด็ดในช่วงปี 2555 ว่า 

       "มติที่ประชุมมธ.ยังไม่ชัดเจน แต่โดยสรุปมีข้อเสนอว่าอยากให้มีการสอบตรงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ต้องมีการพูดคุยให้ลึกถึงรายละเอียดของการสอบตรงร่วมกันก่อน หากร่วมกันในแง่ของการมีศูนย์กลางคอยมาดูแล คอยจัดวันเวลาให้ใกล้เคียงหรือตรงกัน และจำกัดจำนวนมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาจะไปสมัคร จุดนี้ทางธรรมศาสตร์เห็นด้วย แต่ถ้าถึงขนาดต้องสอบวิชาเดียวกัน จุดนี้ยังต้องทำความเข้าใจกันให้มาก ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่าการร่วมกันนี้ จะร่วมกันขนาดไหน" 
       
       "อย่างคณะเศรษฐศาสตร์สอบโดยใช้วิชาเดียวกับคณะนิติศาสตร์ก็แย่แล้ว มันไม่มีทางจะเรียกว่าสอบตรงได้ คนจะดูปัญหาที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ แต่ไม่ดูปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ตอนที่เรามีเอนทรานซ์ คือสอบครั้งเดียวแล้วตัดสินไปเลยว่าได้หรือตก ผลคือ 1. นักศึกษาเครียดมาก มีคนตกจำนวนมาก มีคนได้จำนวนนิดเดียว 2. คนที่ได้ส่วนใหญ่ พอเข้าไปเรียนแล้วมีการเปลี่ยนคณะเรียน เช่น เด็กอยากได้คณะวิศวะฯ แต่เผอิญไปติดนิติศาสตร์ ปีหน้าก็ลาออกไปสอบเข้าวิศวะฯใหม่ นี่คือปัญหา หลายมหาวิทยาลัยจึงเลือกวิธีสอบตรง ผลออกมาคือ 1. ได้นักศึกษาตรงตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ นักศึกษาเหล่านั้นตั้งใจจะเรียนนิติศาสตร์ก็มาเรียนนิติศาสตร์ ตั้งใจจะเรียนทันตแพทย์ ก็ได้เรียนทันตแพทย์ การเปลี่ยนคณะแทบไม่มีเลย" 
 
      ศ.ดร.สมคิด กล่าวต่อว่า กรณีที่มีการพูดถึงกันมาก คือ นักศึกษาไปวิ่งสอบตรงหลายๆที่ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ในความเป็นจริงแล้ว การสอบทุกระบบมีปัญหาทั้งนั้น แต่เมื่อจะแก้ปัญหา ต้องแก้ปัญหาที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่แก้ปัญหาคนส่วนน้อย 
       
       "ถ้ามีคนวิ่งรอกสอบสัก 1% แต่คนที่เหลือจะต้องไปแก้ปัญหาของคน 1% ไหม หรือเราควรจะยืนหยัดอยู่บน 99% ที่เป็นคนส่วนใหญ่ ตัวเลขพวกนี้ยังไม่มี มีแต่คนพูดกันไปว่าวิ่งรอกสอบกันเยอะ แต่ไม่มีการพูดถึงจำนวนให้ชัดเจน อย่างไรก็ตามถ้ามีอะไรที่จะทำให้ระบบการสอบของประเทศดีขึ้นธรรมศาสตร์ก็ยินดี เพียงแต่ไม่อยากให้สรุปรวดเร็วนักว่าจะไปร่วมกันหมดทุกอย่าง เพราะจะเป็นการกลับมาสร้างปัญหาให้ระบบ" ศ.ดร.สมคิด กล่าว

       ประกอบกับจากการที่บางมหาวิทยาลัยเช่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ประกาศใช้ระบบโควตา ที่จัดสอบเองออกมาแล้ว พร้อมทั้งตารางการสอบ SMART I ซึ่งเป็นการสอบที่จะใช้ผลคะแนนสอบในการพิจารณาการเข้าศึกษาระบบสอบตรงเพียงอย่างเดียวของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ยังประกาศจัดสอบตามปกติ ซึ่งชัดเจนว่าอย่างน้อยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์ จะยังใช้ระบบการสอบตรงโดยจัดสอบเอง (SMART I) เหมือนเช่นเดิมอย่างแน่นอน หากแต่ส่วนคณะอื่นๆ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ปรากฏออกมา (ซึ่งเป็นปกติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะประกา่ศออกมาอย่างเป็นทางการในช่วงราวกลางเดือนสิงหาคม - ตุลาคม)

       ซึ่งจากข้อเห็นข้างต้น ทางสถาบันจึงมีความเห็นว่า ธรรมศาสตร์ จะใช้ระบบการสอบตรงในการสอบตรง มธ.ปี 2559 ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (และทำให้การเรียนการสอนใน TOPIC ACADEMY จะสามารถนำไปใช้สอบในปี 2559 ได้อย่างแน่นอน (แต่ถึงเรียนไปแล้ว มธ. ไม่มีสอบ ก็มาแลกขอเรียนคอร์สอื่นๆ ได้ เช่น GAT/ภาษาอังกฤษ/สังคม ฯลฯ ตามรายละเอียดโปรโมชั่น >> http://www.2btopic.com/pro/TuMakeSure.html) อิอิ แอบโฆษณา ^^) (อาจยกเว้นคณะสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ มธ. อาจจะเข้าร่วมสอบตรงของ ทปอ. ทั้งนี้เพราะมีการแยกสอบเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ และคณิต นั่นเอง) ดังนั้นน้องๆ จึงยังไม่ต้องจกอกตกใจไปนะจ้า พี่ๆ และทีมสอนที่ TOPIC ทุกคนเป็นกำลังใจให้ และจะคอยตามข่าวให้น้องๆ ทุกคนอย่างต่อเนื่องจ้า ^_^ 

 
ปล. ทั้งนี้ในส่วนของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี นั้นต้องสอบ SMART I อยู่แล้ว (จัดสอบหลายครั้งต่อปี และในปี 2554 ก็ได้ประกาศเวลาสอบออกมาแล้วจำนวน 10 ครั้ง) ดังนั้นอย่างไรก็ตามหากเด็กๆ อยากเข้าเรียนในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะอันดับหนึ่งด้านการบริหารและบัญชีของประเทศ ทั้งหลักสูตรภาคไทย 4 ปี 5 ปี และ BBA (อินเตอร์) อย่างไรเสียก็ต้องสอบ SMART I อย่างแน่นอน 100% และคณะ INTER ทั้งหลาย เช่น BMIR, BE, BBA, BJM, BEC, BAS, PBIC นั้น สอบตรงแน่นอน 100% รวมจนถึงโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (SEAS) และโครงการรัสเซียศึกษา และหลักสูตรอื่นๆ ในโครงการพิเศษต่างๆ ด้วย
 
2. การสอบตรง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    = โดยปกติการสอบตรงของจุฬาฯ นั้นโดยมากจะเป็นวิชา GAT หรือ PAT หรือวิชาสามัญ อยู่แล้ว ดังนั้นการเตรียมตัว หากเตรียม GAT/PAT และวิชาสามัญ ไว้แต่เนิ่นๆ ก็ย่อมได้ประโยชน์อย่างแน่นอน (ทั้งนี้ น้องๆที่เรียนกับเราที่ TOPIC นี้จากปีที่ผ่านๆ มาก็ประสบผลสำเร็จได้คะแนนสูงขึ้นกันทุกคน โดยเฉพาะวิชา GAT, PAT5 และ PAT1) 
    ทั้งนี้ ในส่วนของคณะนิเทศศาสตร์ นั้น  ได้เปิดสอบตรงมานานเกือบจะ 10 ปีแล้ว (กล่าวคือเปิดสอบตรงโดยคณะจัดสอบเอง มาก่อนที่จุฬาฯจะจัดระบบสอบตรงร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย) อีกทั้งการสอบคณะนิเทศฯ เป็นการสอบวัดความรู้เฉพาะทางอย่างแท้จริง ซึ่งต่างจากคณะอื่นๆ ทั่วไป ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่คณะนิเทศศาสตร์ จะยังคงจัดสอบเองดังเดิม อีกทั้งทางคณะมักจะจัดสอบในช่วงเดือนกรกฎาคมหรือตุลาคมของทุกปี (กรณีวิชาเฉพาะทางเช่น วิชาความถนัดทางวารสารสนเทศ หรือวิชาความรู้ทั่วไปทางสังคมศาสตร์ หรือวิชาความรู้ทั่วไปทางภาษาและวรรณคดีไทย) ดังนั้นหากน้องๆ ยังลังเลในช่วงนี้อาจจะมีเวลาในการเตรียมตัวน้อยลงได้ 
    ส่วนคอร์ส INTER ทั้งหลาย เช่น BBA, EBA, BALAC, NITAD นั้นเปิดสอบตรง 100% แน่นอน
 
3. การสอบตรง แพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ กสพท.
    =แนวโน้มว่าจะรับในรูปแบบเดิม 99% คือสอบวิชาพื้นฐาน (โดยใช้ผลคะแนนของ 9 วิชาสามัญ ของ สทศ.) และวิชาเฉพาะแพทย์ ดังนั้นเตรียมตัวในรูปแบบเดิม เตรียมเครื่อง ออกตัวเต็มที่ทั้งปีนี้ได้เลยจ้าา (ว้ชาเฉพาะแพทย์ สอบช่วงปลายเดือนตุลาคม) 
 
    และในปีนี้ตารางการสอบต่างๆ ก็ประกาศออกมาแล้วอย่างรวดเร็ว และยังจัดการสอบให้เร็วขึ้นอีกด้วย ดังนี้

  1. GAT/PAT ครั้งที่ 1 จัดสอบ 29 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2558 (เดิม จัดช่วงเกือบกลางเดือนพฤศจิกายน)
  2. 9 วิชาสามาัญ จัดสอบ 26 - 27 ธันวาคม 2558 (เดิมจัดช่วงต้นเดือนมกราคม)
  3. ONET (สอบได้ครั้งเดียวในชีวิต) จัดสอบ 6 - 7 มกราคม 2558 (เดิมจัดสอบช่วงเดือนกุมภาพันธ์)
  4. GAT/PAT ครั้งที่ 2 จัดสอบ 5 - 8 มีนาคม 2558 (จัดช่วงเวลาเดิม)

   น้องๆ จะเห็นว่าตารางการสอบนั้น "ร่น" ระยะเวลาขึ้นมา ดังนั้นหากลังเล และไม่รีบเตรียมตัว ก็อาจจะพลาดการสอบ ซึ่งแน่นอนว่าการเตรียม "เฉพาะ" ที่ตัวเองจะนำไปใช้ได้จริงนั้น ได้ประโยชน์มากกว่าแย่างแน่นอน ซึ่งการจะทราบว่าวิชาที่จะได้ใช้นั้นมีอะไรบ้าง ก็ต้องทราบให้ชัดเจนว่า น้องๆ นั้น "อยากเรียน" คณะ/สาขาวิชาใดบ้างนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด และหากต้องการความช่วยเหลือ ครูพี่ทาม์ยและ TOPIC ACADEMY ยังพร้อมดูแลน้องๆ อยู่เสมอ


    ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม ขอให้น้องๆ ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ได้ทาง website : www.2btopic.com และ www.facebook.com/topic.academy และwww.facebook.com/tyme.topic  เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนในอนาคตของหนูๆ ทุกคนจ้าาา ^_^

ข้อมูลโดย : สถาบันพัฒนาทักษะเพื่อการสอบตรงธรรมศาสตร์และจุฬา TOPIC ACADEMY



ผู้ตั้งกระทู้ Admin กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2015-05-22 23:16:50 IP : 124.121.188.219


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.