ReadyPlanet.com


อาการยังไม่รุนแรง ต้องลองฝังเข็มแทนการผ่าตัดกระดูกสันหลัง


 กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการฝังเข็มมีหลายกรณี เช่น กลัวการผ่าตัดกระดูกสันหลัง หรืออยากเก็บการผ่าตัดไว้เป็นทางเลือกสุดท้าย โดยผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่อยากเข้ารับการผ่าตัดก็ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีรักษาแบบอื่น ที่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงเป็นหลัก ทั้งการนวด การทำกายภาพบำบัด หรือการฝังเข็ม

โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อย ถือเป็นกลุ่มที่ควรเลือกวิธีรักษาแบบอื่น มากกว่าผ่าตัดกระดูกสันหลัง เนื่องจากอายุที่น้อยทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ร่างกายไปอีกนาน ซึ่งการรักษาแบบ invasive treatment หรือการรักษาแบบที่ไม่ล่วงล้ำเข้าไปในร่างกาย

ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ก็สามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้

ถึงแม้การผ่าตัด https://www.s-spinehospital.com/main/ผ่าตัดกระดูกสันหลัง-เลเซอร์รักษาปวดหลัง/ จะก้าวหน้าไปมาก จนทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดีขึ้น เจ็บน้อยลง แต่ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงของโรคน้อย - ปานกลาง ก็สามารถเลือกวิธีฝังเข็มเพื่อรักษาแทนการผ่าตัดได้ เนื่องจากอาการของโรคที่ยังไม่รุนแรง จึงมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ง่ายกว่าปกติ หรือถ้าไม่พอใจการฝังเข็ม ก็เปลี่ยนมาผ่าตัดในภายหลังได้

การฝังเข็มรักษาอย่างถูกวิธีให้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจ ไม่แพ้การผ่าตัดกระดูกสันหลัง เพราะมันจะช่วยให้กล้ามเนื้อหลังผ่อนคลาย ลดการอักเสบ และช่วยลดระดับการกดทับของเส้นประสาท ซึ่งผู้ป่วยที่มีระดับการกดทับของเส้นประสาทไขสันหลังไม่รุนแรงก็มีโอกาศรักษาให้ดีขึ้น จนไม่มีอาการได้

นอกจากนี้ การฝังเข็มคู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่น ยังช่วยเสริมให้ผลลัพธ์ของการรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมากกว่ารักษาด้วยวิธีเดียว ซึ่งผลศึกษาพบว่าการฝังเข็มช่วยลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวด หรือช่วยให้ผลลัพธ์ของการทำกายภาพบำบัดให้ดีขึ้นได้

การฝังเข็มก็มีข้อด้อยเช่นเดียวกับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

1.การฝังเข็มต้องใช้เวลานานกว่าการผ่าตัดกระดูกสันหลัง หรือการกินยา

2.การฝังเข็มมีปัญหาด้านความสะดวกมากกว่าการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เพราะต้องเดินทางมาเพื่อรักษาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ต่อครั้ง

3.ผู้ป่วยที่ฝังเข็มต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ร่างกายควบคู่กันไปด้วย เช่น ต้องนั่งในท่าที่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น

4.ต้องดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เช่น การทำกายภาพ หรือออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนหลัง เนื่องจากมีหน้าที่แบ่งเบาภาระการรับน้ำหนักของร่างกาย ซึ่งช่วยให้หมอนรองกระดูกไม่ต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป.



ผู้ตั้งกระทู้ health108 :: วันที่ลงประกาศ 2021-05-18 17:45:40 IP : 49.228.169.13


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.