ReadyPlanet.com


มารู้จัก “จิตวิทยา” กันดีกว่า By Kru P’Tyme


มารู้จัก “จิตวิทยา” กันดีกว่า By Kru P’Tyme
--------------------------------

          จิตวิทยาเนี่ยเป็นหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ จึงจบมาได้วุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิต แต่ว่ามักไม่ค่อยได้อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ มักจะอยู่ในคณะทางมนุษยศาสตร์ เพราะเรียนเกี่ยวกับ "จิตใจมนุษย์" เช่นที่ธรรมศาสตร์จะอยู่ในคณะศิลปศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็จะอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์ แต่ในบางมหาวิทยาลัยก็จะแยกออกไปเป็นคณะเองเลย เช่นจุฬาฯ เป็นต้น แต่งทั้งนี้ ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไรไปมากกว่าการบริหารจัดการเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับว่าหลักสูตรจะดีไม่ดีอย่างไรทั้งสิ้น เพราะหลักสูตรจะขึ้นอยู่กับสาขาวิชา ไม่ใช่ตัวคณะ (อันนี้น้องๆ หลายๆ คนมักจะเข้าใจกันผิด) ... จิตวิทยา ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม การเรียนจิตวิทยาในประเทศไทยนั้นสามารถแยกย่อยได้อีกหลายสาขา ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น
 
1) สาขาจิตวิทยาคลีนิค
          สาขานี้จะใกล้เคียงกับการเป็นจิตแพทย์มากที่สุด (ความต่างของจิตแพทย์และจิตวิทยานั้นคือ แพทย์จะเรียนโครงสร้างทางร่างกายประกอบกับระบบประสาทควบคู่ไปกับสภาวะทางจิต ดังนั้นวิธีการรักษาอาจจะเป็นการรักษาที่สามารถใช้ได้ทั้งยาหรือการรักษาทางเลือกอื่นๆ ส่วนทางจิตวิทยานั้นจะเรียนเกี่ยวกับ "พฤติกรรม" ซะเป็นส่วนใหญ่ วิเคราะห์สภาภาพทางจิตจากสิ่งแวดล้อม จากการใช้ชีวิต ปมต่าง ฯลฯ เป็นต้นซึ่งทำให้สามารถคาดการณ์หรือคาดเดา และพยากรณ์การตัดสินใจของบุคคล หรือการเรียนรู้เพื่อการควบคุมมวลชน การสร้างแรงจูงใจ การวิเคราะห์ทางจิต ฯลฯ) นั่นคือจิตวิทยาคลีนิคจะสามารถทำงานในสายการให้คำแนะนำต่างๆ ได้ดี เหมือนกับที่น้องเคยเห็นในหนัง ในละครบ่อยๆ นั่นเอง ดังนั้นเมื่อเรียนจบไปแล้วก็จะสามารถทำงานในสายงานจิตวิทยาได้ทุกอย่าง รวมไปจนถึงสามารถทำงานในโรงพยาบาลได้ครับ
 
2). จิตวิทยาการปรึกษา
          ศึกษาการปรึกษาเพื่อให้ผู้มาปรึกษาเห็นหนทางในการแก้ปัญหาของตนเองด้วยตนเอง ไม่ได้ใช้ยาแก้ปัญหาเหมือนจิตแพทย์ สามารถทำงาน เช่น รับปรึกษาปัญหาของคน ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาด้านชีวิตคู่ เรื่องทั่วๆไป เรื่องเรียน แล้วแต่หน่วยงาน เช่น เอกชน โรงเรียน
 
3). จิตวิทยาสังคม
          ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ เช่น มีสาเหตุจากสังคมหรือตัวบุคคลนั้น สังคมมีอิทธิพลมากน้อยยังไง (คณะนิเทศศาสตร์ต้องเรียนจิตวิทยาสังคมขั้นนำกับเรา) สามารถทำงาน เช่น อาจจะวิจัยการตลาด ฯลฯ แล้วแต่จะเลือกทำ หรือ ทำในศาล
 
4). จิตวิทยาพัฒนาการ
          ศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนตาย เพื่อตรวจสอบว่าวัยก่อนหน้ามีอิทธิพลต่อวัยต่อไปหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้มนุษย์พัฒนาไปในทางที่ถูกที่ควรทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถทำงาน เช่น แล้วแต่ว่าจะศึกษาช่วงไหน องค์การก็จะต่างกันไป เด็กก็อาจจะเป็นโรงงานของเล่น หรืออาจจะทำงานร่วมกับนักวิชาการในด้านการศึกษา กระทรวงพัฒนาสังคมฯ มูลนิธิต่างๆ
 
5). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
          ศึกษาบุคลิกภาพของบุคลากรเพื่อคัดเลือกบุคลากรที่มีความเหมาะสมต่อองค์การ นั้นๆ รายละเอียดจะเยอะมากคือตั้งแต่รับเข้าจนถึงคัดออก จะบอกว่าดูแลบุคลากรในบริบทการทำงานก็ได้ สามารถทำงาน เช่น ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์การต่างๆ ต่างกับของคณะบัญชีคือเน้นบุคลากรมากกว่า
 
6) จิตวิทยาแนะแนว
          ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ทั้งทักษะ ความสามารถ ความชอบ ความสนใจ ฯลฯ เพื่อนำมาประเมินศักยภาพ ความถนัดหรือความพึงพอใจ ในการศึกษาต่อ หรือในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต สามารถทำงาน เช่นนักวิจัย ครู/อาจารย์แนะแนว
 
          ทั้งนี้ทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็หากในระดับปริญญาตรีนั้นมักจะไม่ได้เรียนแยกตามสาขาต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น โดยจะศึกษาเป็นจิตวิทยาทั่วไป ซึ่งตัวน้องเองสามารถที่จะเลือกเรียนวิชาในจิตวิทยาสายต่างๆ ตามความสนใจพิเศษได้นั่นเอง
 
------------------------------------------------------
ส่วนการเตรียมตัวสอบนั้น
 
1) ในส่วนของการสอบตรงของธรรมศาสตร์ จะไม่มีสาขาจิตวิทยาเข้าร่วมการสอบตรง ดังนั้นจะรับผ่านการ Admission เท่านั้น
 
2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับตรงในบางปี ซึ่งแนะนำให้เตรียมตัวด้วย GAT และ PAT 1 (ทั้งนี้คณะจิตวิทยา จุฬาฯ มีหลักสูตรนานาชาติแห่งเดียวประประเทศไทยในระดับปริญญาตรีอีกด้วย ซึ่งการเตรียมตัวนั้นพี่ทาม์ยจะแนะนำอีกครั้ง)
 
3) มศว. เปิดรับตรงมีกว่า 4 ปีแล้ว และค่อนข้างมั่นคงในวิชาที่ใช้สอบคัดเลือกนั่นคือ วิชาความถนัดทางการเรียน (SAT) ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยใช้ข้อสอบของมหาวิทยาลัยจัดสอบเอง ซึ่งโดยมากจะจัดสอบช่วงวันที่ 20 กว่าของเดือนกันยายนของทุกปี
(รายละเอียดการเตรียมสอบ –> http://www.2btopic.com/SWU/arts.html )
 
4) การสอบตรงมหาวิทยาลัยอื่นๆ ยังไม่แน่นอนในจำนวนและวิชาสอบที่ใช้รับในแต่ละปี จึงต้องติดตามเป็นปีๆ ไป
 
5) หลักสูตรจิตวิทยา ของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ มักจะรับจากระบบ Admission ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้องเตรียมตัวคือ GPAX 20%, ONET 30%, GAT 30 - 50%, PAT1 0 - 20% โดยเฉพาะ GAT ซึ่งในบางมหาวิทยาลัยใช้สัดส่วนคะแนนที่สูงมากถึง 50% จึงค่อนข้างน่าสนใจเป็นอย่างมากนั่นเอง
 
----------------------------------------------------
 สอบถามเพิ่มเติมที่ 02 619 2700, 087 215 6357
 
ดังนั้นคอร์สเตรียมตัวของเรา => GAT NETWORK + GAT ENG + PAT1 + ONET ครับ
(รายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
 


ผู้ตั้งกระทู้ Admin กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-25 14:05:05 IP : 58.8.130.31


[1]

ความคิดเห็นที่ 2 (4382423)

 แนะนำสายจิตวิทยาคลินิกหน่อยได้ไหมคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนภร เจริญสุข วันที่ตอบ 2022-10-16 19:19:58 IP : 223.204.240.255


ความคิดเห็นที่ 1 (3450682)
จิตวิทยา ที่วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ เป็น หลักสูตรทางวิทยาศาสตร์ นะค่ะ ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ www.psy.ac.th
ผู้แสดงความคิดเห็น พินันท์ (thai_english99-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-03-28 14:57:27 IP : 58.97.84.66



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.